ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
 
มือถือ 08-7189-4338
Email: info@donmoonfarm.com

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

 

การคนซุ้มและการควบคุมและเห่า Blind search and Hold and bark  

การค้นซุ้มและการควบคุมและการเห่า เป็นการสอบตอนป้องกัน Protection ของการสอบอารักขา มีคะแนน 10 คะแนน  การคนซุ้มและการควบคุมและเห่า Blind search and Hold and bark การฝึกทั้งสองอย่างนี้จำเป็นต้องแยกการฝึกออกจากกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็นำเอามารวมกันในภายหลัง ผู้จูงจะต้องแยกการฝึกทีละอย่าง และเมื่อสุนัขเข้าใจบทฝึก Blind search and Hold and bark เป็นอย่างดีแล้ว ผู้จูงสามารถเอาบทฝึกทั้งสองมารวมกันเป็นบทฝึกเดียวเพื่อให้เหมือนกับที่ใช้ในการแข่งขัน บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเชื่อฟังคำสั่งของ Blind search และ Hold and bark เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแรงขับ drive development

 การค้นซุ้ม Blind Search

เราจะทำการฝึกการค้นซุ้มเป็นสามตอน:

  1. การฝึกให้สุนัขวิ่งอ้อมซุ้ม
  2. การฝึกสุนัขให้วิ่งต่อไปอ้อมอีกซุ้มหนึ่งหลังจากที่ได้อ้อมซุ้มแรกแล้ว และ
  3. ความเป็นทีมที่สมบูรณ์แบบของผู้จูงและสุนัข ซึ่งจะทำให้ทั้งผู้จูงและสุนัขทำงานร่วมกันในสนามอย่างอย่างมีประสิทธิภาพในการค้นแต่ละซุ้ม

 การฝึกเพื่อให้สุนัขเกิดความมั่นใจในทิศทางที่ผู้จูงกำหนด แทนที่จะวิ่งในสนามไปยังซุ้มที่สุนัขเข้าใจว่าเป็นซุ้มที่ผู้ล่อ  Helper ซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่กำหนดการฝึกให้สุนัขดูทิศทางจากผู้จูงหลังจากการค้นแต่ละซุ้ม มากกว่าการที่จะหลอกให้สุนัขว่าซุ้มไหนที่ผู้ล่อ Helper หลบอยู่ หากผู้จูงไม่ขจัดทางเลือกของสุนัขที่จะวิ่งตรงไปยังซุ้มที่มันต้องการ ผู้จูงจะไม่มีทางฝึกสุนัขในการค้นซุ้มให้อยู่ในร่องในรอยได้

 การฝึกให้สุนัขวิ่งอ้อนซุ้ม Teaching the Dog to Go Around a Blind

เปิดซุ้มบางส่วนเพื่อให้สุนัขสามารถเห็นผู้จูงขณะที่ยืนอยู่หลังซุ้มได้โดยง่าย สั่งให้สุนัขนั่งด้านตรงข้ามของซุ้ม โดยให้สุนัขหันหน้ามาทางผู้จูง เรียกสุนัขมาหาขณะที่ผู้จูงเคลื่อนตัวไปยังอีกด้านหนึ่งของซุ้ม ให้สุนัขได้เห็นการเคลื่อนไหวของผู้จูง เพื่อให้สุนัขวิ่งอ้อมซุ้มไปทางเดียวกันกับผู้จูง

ทำการฝึกซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง และค่อย ๆ เพิ่มระยะห่างของจุดที่สุนัขเริ่มต้น (นั่ง) ไปทางด้านข้างเพื่อให้สุนัขมีพื้นที่วิ่งอ้อมซุ้มมากขึ้น แทนที่จะวิ่งตรงมายังผู้จูงเมื่อถูกเรียก ให้เคลื่อนตัวไปทางด้านข้างของซุ้มในทิศทางเดียวกันเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้สุนัขได้วิ่งมาทางด้านข้างของซุ้มด้านเดียวไม่ว่าจุดเริ่มต้น (นั่ง) จะอยู่ที่ใด

หากผู้จูงสร้างรูปแบบการวิ่งของสุนัขโดยเพิ่มระยะทางของจุดเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สุนัขจะไม่วิ่งอ้อมซุ้มผิดด้าน หรือถ้าหากสุนัขวิ่งอ้อมซุ้มผิดด้าน ให้ใช้คำสั่ง “No” เช่นเดียวกับที่ใช้เมื่อสุนัขวิ่งอ้อมสิ่งกีดขวาง เพื่อให้สุนัขได้เปรียบเทียบ ให้สุนัขเริ่มต้นใกล้ ๆ กับด้านที่ถูกต้องของซุ้มในครั้งต่อไปที่เราจะเรียกสุนัข เพื่อให้สุนัขได้มาหาผู้จูงในด้านที่ถูกต้อง

ทีนี้ กางซุ้มในตำแหน่งปกติ ผูกเชือกห้อยลงมาจากยอดซุ้มโดยมีคลิ๊ปที่ปลายที่ห้อยสำหรับหนีบของเล่น เพื่อให้สุนัขสามารถดึงของเล่นออกได้โดยง่าย

สั่งให้สุนัขไปเอาของเล่นจากในซุ้ม ทำการฝึกซ้ำ 2 -3 ครั้ง และกระตุ้นให้สุนัขตื่นเต้นกับของเล่น เริ่มใช้คำสั่ง “Search” นับแต่นี้ไปให้ผู้จูงใช้คำสั่งนี้เมื่อสั่งให้สุนัขไปค้นซุ้ม

ทีนี้ ปล่อยให้สุนัขนั่งอยู่ด้านตรงข้ามของซุ้ม สั่ง  “Search” และเรียกสุนัขมาหาเมื่อสุนัขได้ดึงเอาของเล่นออกจากเชือกที่ผูก

 ประโยชน์ที่ได้จากการฝึกเช่นนี้คือ ทำให้สุนัขมองไปในซุ้มแทนที่จะวิ่งอ้อมไปเฉย ๆ

ทีนี้เริ่มสั่งให้สุนัขไปเอาของเล่นโดยให้สุนัขอยู่ทางซ้ายมือของผู้จูง โดยให้ตำแหน่งเริ่มต้นเยื้องไปทางด้านซ้ายของซุ้ม ซึ่งจะทำให้เส้นทางของสุนัขไปทางด้านเปิดของซุ้มเป็นรูปเกือกม้าตื้น ๆ เมื่อสุนัขคาบของเล่นและวิ่งมาหาผู้จูงในด้านตรงข้ามของซุ้ม ซึ่งจะเป็นการวิ่งอ้อมซุ้มแทนที่จะวิ่งกลับแนวเดิม

สุนัขบางตัวชอบที่จะวิ่งทวนเข็มนาฬิกา และบางตัวชอบวิ่งตามเข็มนาฬิกา  ด้านที่สุนัขชอบคือด้านที่ถนัดของสุนัข และสุนัขจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการค้นซุ้มในด้านที่มันถนัด สังเกตว่าด้านใดที่สุนัขชอบก็สร้างแนวเกือกม้าตามด้านนั้น

เมื่อสุนัขมีความถนัดเพิ่มขึ้นจากการฝึกซ้ำ ๆ ค่อย ๆ เพิ่มระยะเริ่มต้นให้ไกลออกไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 25 เมตรจากซุ้ม

 ฝึกให้สุนัขค้นซุ้มอื่นต่อไป Teaching a Dog to Continue on to Another Blind

ตั้งซุ้มที่สองให้ห่างจากซุ้มแรกประมาณ 30 เมตร ฝึกให้สุนัขวิ่งอ้อมซุ้มที่สองดังเช่นที่เคยฝึกให้สุนัขวิ่งอ้อมซุ้มที่หนึ่ง ผู้จูงยืนอยู่ระหว่างซุ้มทั้งสอง โดยห่างจากซุ้มที่สองประมาณ 3 เมตร สั่งให้สุนัขค้นซุ้มที่หนึ่ง เรียกสุนัขมาหา และทันใดนั้นให้ชี้แนวให้สุนัขไปยังซุ้มที่สอง ซึ่งเป็นซุ้มที่เราห้อยของเล่นไว้

หลังจากขั้นตอนนี้แล้ว สุนัขได้เรียนรู้ว่า มันจะได้รับรางวัลเป็นของเล่นหากไปตามทิศทางที่ผู้จูงชี้ และค้นหาซุ้มอื่นต่อไปเมื่อไม่พบอะไรในซุ้มที่หนึ่ง

หลังจากที่ฝึกซ้ำ ๆ ผู้จูงสามารถเพิ่มระยะทางที่ผู้จูงยืนห่างจากซุ้มที่สองออกไป จนถึงจุดกึ่งกลางระหว่างซุ้มที่หนึ่งละซุ้มที่สอง

เมื่อสุนัขสามารถค้นซุ้มในระยะนี้แล้ว ให้ผู้จูงย้ายของเล่นไปห้อยในซุ้มหนึ่งบ้างในซุ้มสองบ้างสลับกันไปเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน

เมื่อใดก็ตามที่สุนัขพยายามที่จะวิ่งตรงไปยังซุ้มที่สองซึ่งมีของเล่นห้อยอยู่  โดยไม่สนใจทิศทางที่ผู้จูงชี้ไปที่ซุ้มหนึ่ง ให้เรียกสุนัขด้วย “No, Here” ให้สุนัขเดินชิดไปยังกึ่งกลางระหว่างซุ้มที่หนึ่ง และสั่งให้สุนัขวิ่งค้นซุ้มจากจุดนั้น ใช้ “No” เมื่อสุนัขปฏิเสธคำสั่ง “Here” แรก

เพิ่มซุ้มที่สามเพื่อให้ได้ทั้งสามซุ้มวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ในขั้นแรก ให้วางซุ้มที่สามห่างจากซุ้มที่หนึ่ง 45 เมตร ซุ้มที่สองห่างจากซุ้มแรกและซุ้มที่สาม 30 เมตรเท่า ๆ กัน ด้วยการวางซุ้มแบบนี้จะช่วยให้สุนัขที่เริ่มฝึกประสบความสำเร็จในการฝึก ฝึกให้สุนัขค้นทุกซุ้มจนถึงซุ้มที่สามซึ่งมีของเล่นแขวนอยู่ และคาบมาหาผู้จูง

ทีนี้ แขวนของเล่นไว้ในซุ้มที่สาม สั่งให้สุนัขค้นซุ้มที่หนึ่ง ทันที่ที่สุนัขอ้อมซุ้มที่หนึ่ง เรียก “Here” เพื่อดึงดูดความสนใจของสุนัขและชี้ไปยังซุ้มที่สอง” และตามด้วย “Search” ทันที่ที่สุนัขวิ่งผ่านผู้จูงไปยังซุ้มที่สอง ให้ผู้จูงเดินไปข้างหน้า เมื่อสุนัขอ้อมซุ้มที่สอง ให้ดึงดูดความสนใจของสุนัขด้วย “Here” และตามด้วย “Search” ขณะที่ผู้จูงชี้ไปยังซุ้มที่สาม ตำแหน่งของผู้จูงจะป้องกันไม่ให้สุนัขวิ่งกลับไปยังซุ้มหนึ่ง ผู้จูงกำลังฝึกให้สุนัขวิ่งขวางสนามโดยให้วิ่งผ่านหน้าผู้จูงเท่านั้น สุนัขจะได้รางวัลเป็นของเล่นในซุ้มที่สาม

เมื่อสุนัขสามารถค้นซุ้มทั้งสามซุ้มด้วยดีโดยไม่วิ่งอ้อมไปซุ้มหนึ่งแล้ว ทีนี้ก็สลับตำแหน่งที่เราแขวนของเล่นไปยังซุ้มต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนาน

ตอนนี้เราก็สามารถเพิ่มระยะห่างของซุ้มให้ห่างกัน 45 เมตร และลดระยะห่างของซุ้มที่หนึ่งและซุ้มที่สามให้เหลือ  30 เมตร หลังจากที่ทำการฝึกซ้ำ ๆ เราสามารถเพิ่มจำนวนซุ้ม  การฝึกให้สุนัขค้นซุ้มด้วยของเล่นเป็นรางวัล ทำให้ผู้จูงสามารถฝึกกลไกรูปแบบของการค้นหาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเปลืองเวลาอันมีค่าของผู้ล่อ Helper

เมื่อสุนัขสามารถค้นซุ้มได้ทั้งหกซุ้ม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพาสุนัขไปฝึกในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้สุนัขได้ประสบการณ์ในการค้นซุ้มในสถานที่แตกต่าง

 การฝึกคุมและเห่า Hold and Bark

ในขณะที่เรากำลังฝึกสอนการค้นซุ้ม Blind Search ไปตามขั้นตอนที่ได้อธิบายไว้เบื้องต้น ซึ่งจะใช้เวลาในการฝึกประมาณ 7-8 วัน ผู้จูงควรทำการฝึกการคุมและเห่า Hold and Bark ไปด้วยและแยกการฝึกออกจากกัน

เริ่มการฝึกคุมและเห่า Hold and Bark ด้วยการสั่งให้สุนัขนั่งและเห่าเพื่อจะเอาของเล่นซึ่งผู้จูงถือไว้ในมือก่อน ขั้นต่อไปให้เปลี่ยนเป็นผู้ล่อ Helper และฝึกให้สุนัขรู้ว่ารางวัลที่จะได้จากการนั่งและเห่าคือ การได้กัดปลอกแขน ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องจำกัดสุนัขเพื่อไม่ให้สุนัขเกิดความเคยชินกับการกระแทกหรือกัดเองก่อน หรืออีกนัยหนึ่ง เรากำลังสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่สุนัข และเป็นการสอนพฤติกรรมที่ถูกต้องเท่านั้นจะได้รับรางวัลด้วยการกัด

เมื่อสุนัขเข้าใจดีแล้วว่าทำอย่างไรจึงจะได้รางวัลด้วยการกัด และถูกจำกัดทางกายภาพเพื่อไม่สามารถทำผิดได้ เราจะเลิกการจำกัดและให้สุนัขได้ค้นพบเองว่าการกระแทกหรือกัดเองก่อนนั้นจะไม่ได้รับรางวัล แต่จะได้รับการลงโทษด้วย “No”

หากเราทำการฝึกสุนัขให้คุมและเห่า Hold and Bark ตามที่กล่าวมานี้ เราจะได้สุนัขที่มีความมั่นใจในตัวเองที่ถูกต้องซึ่งจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้การแก้ไขด้วยความดุดันในการฝึก เพราะว่าสุนัขจะรู้ว่าทางเดียวที่เขาจะได้รับรางวัลคือต้องมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเท่านั้น

 ฝึกให้สุนัขได้รับรางวัล Teaching the Dog to Earn a Reward

ฝึกให้สุนัขนั่งและเห่าเมื่อได้รับคำสั่ง เพื่อรับรางวัลเป็นของเล่นหรือลูกบอล ฝึกฝนคำสั่งนี้ขณะที่ยืนอยู่ที่หน้าซุ้ม  แล้วเรียกสุนัขมาหาเมื่อผู้จูงยืนอยู่ในซุ้ม สุนัขจะต้องนั่งและเห่า จึงจะให้รางวัลด้วยของเล่นหรือลูกบอล เพิ่มระยะทางที่จะให้สุนัขวิ่งมาหาให้ไกล ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 10 เมตร

ในตอนแรก ผู้จูงจะต้องให้รางวัลแก่สุนัขทันทีที่สุนัขนั่งและเห่า หลังจากนั้นให้ทอดระยะเวลาให้สุนัขเห่านานออกไปก่อนที่จะให้รางวัล

ทีนี้ เปลี่ยนรางวัลจากการให้ของเล่นหรือลูกบอลแก่สุนัขเป็นการให้กัดที่ปลอกแขนแทน ให้ผู้จูงสวมปลอกแขนและให้ยืนอยู่ในซุ้มดังเช่นที่เคยและปฏิบัติตามขั้นตอนเดิมที่เคยปฏิบัติในการเรียกให้สุนัขมาหา นั่ง เห่าและการให้รางวัล แต่ในตอนนี้ให้รางวัลด้วยการให้สุนัขได้กัดที่ปลอกแขนและปล่อยให้สุนัขคาบปลอกแขนไป โดยเริ่มทำการฝึกในระยะใกล้ ๆ ก่อน เช่น 2 เมตร และเพิ่มระยะขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 10 เมตร เพิ่มระยะในการเห่าของสุนัขขึ้นเรื่อยก่อนที่จะให้สุนัขกัดปลอกแขน

เหตุผลที่ว่าทำไมถึงให้ผู้จูงทำการฝึกก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นให้ผู้ล่อ Helper คือ สุนัขจะไม่ชอบที่จะกัดเจ้าของ เป็นการทำให้เป็นแรงขับของการเล่น prey drive เท่านั้น และไม่มีส่วนของแรงขับของการป้องกัน defense drive

อย่าลืมว่าเราเพียงแค่กำลังสร้างกลไกของการฝึก ไม่ใช่พัฒนาแรงขับของการป้องกัน defense drive (ซึ่งผู้จูงและผู้ล่อสามารถเพิ่มเข้าไปได้ง่ายในการค้นซุ้มในภายหลัง) หากเราพยายามกระตุ้นแรงขับของการป้องกันในขั้นตอนของการฝึกคุมและเห่า สุนัขจะไม่สงบพอที่จะเรียนรู้ขั้นตอนที่ถูกต้องและจะต้องใช้การแก้ไขที่มากมาย การใช้การแก้ไขที่หนักในขณะฝึกจะทำให้ความมั่นใจของสุนัขลดลง การให้ผู้จูงสวมปลอกแขนในตอนแรกนั้น เราสามารถทำให้สุนัขได้รู้ว่าการที่จะได้รับรางวัลก็ต่อเมื่อมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง โดยผู้จูงไม่ต้องพะวงว่าสุนัขจะเคยชินกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

 การแนะนำผู้ล่อแก่สุนัข Introducing the Helper

ขณะนี้ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนเป็นผู้ล่อ Helper แล้ว ให้ผูกสุนัขไว้ด้วยความยาวของสายจูงที่วัดระยะห่างจากหลักถึงผู้ล่อแล้ว ความยาวของสายจูงจะต้องมีความยาวพอที่จะให้สุนัขเข้าถึงตำแหน่งนั่งและเห่าตรงหน้าผู้ล่อได้ โดยสุนัขไม่สามารถเข้าถึงตัวผู้ล่อได้ การใช้เชือกผูกนี้ต้องให้ความสำคัญมาก

เรากำลังฝึกสุนัขให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อจะได้รับรางวัลในการฝึกนี้ และสุนัขจะไม่ได้รับรางวัลหากไม่มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ให้ผู้ล่อยืนอยู่ในซุ้มโดยผูกสุนัขไว้กับหลัก สั่งให้สุนัขนั่งและหากจำเป็นกระตุ้นให้สุนัขเห่าโดยการตบที่ปลอกแขนของผู้ล่อ ในการฝึกช่วงแรก ๆ ผู้ล่อจะต้องให้สุนัขกัดปลอกแขทันทีที่สุนัขนั่งไม่ว่าสุนัขจะเห่าด้วยหรือไม่ หลังจากนั้นค่อยฝึกให้สุนัขเห่าแล้วจึงจะให้รางวัลด้วยการกัด

ทำการฝึกซ้ำ ๆ และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาให้สุนัขนั่งและเห่านานขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มระยะทางระหว่างผู้ล่อกับสุนัขเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดปลายสายฝึก

 ฝึกสุนัขให้ทำการเปรียบเทียบ Teaching the Dog to Make a Comparision

ถึงขณะนี้สุนัขก็พร้อมที่จะอยู่นอกสายฝึกและทำการเปรียบเทียบด้วยตนเองได้แล้ว การคุมและเห่าเท่านั้นที่จะได้กัด การกระแทกหรือกัดเองก่อนจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและจะได้รับการลงโทษด้วย “No”

ทำซ้ำตามขั้นตอนที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ปลดสายฝึกสุนัข ให้ผู้จูงอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นสุนัขได้หากมีการกระแทกหรือกัดเองก่อน ให้ทำการแก้ไขทันทีที่สุนัขมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องด้วยการลงโทษด้วย “No”

 เอาทุกอย่างมารวมกัน Putting it Together

เราไม่ต้องการที่จะหลอกสุนัขว่าซุ้มใดที่ผู้ล่อซ่อนอยู่ แต่เรากำลังฝึกให้สุนัขรู้ว่า “ต้องกินอาหารคาวก่อนแล้วจึงจะกินของหวานได้” หรืออีกนัยหนึ่ง “วิ่งค้นทุกซุ้มก่อนจึงจะเจอผู้ล่อ”

ตั้งซุ้มสามซุ้ม และให้ผู้ล่ออยู่หน้าซุ้มที่สาม ให้สุนัขวิ่งค้นซุ้มทั้งสามตามแนวทางได้ที่เคยฝึกมาแล้วกับของเล่นหรือลูกบอล แต่คราวนี้จะไม่มีของเล่นหรือลูกบอลอยู่ในซุ้ม แต่เป็นผู้ล่ออยู่ในซุ้มที่สามแทน ทันที่สุนัขอ้อมซุ้มที่สอง ให้ผู้ล่อเข้าไปอยู่ในซุ้ม ให้สุนัขมาค้นซุ้มที่สามโดยให้คุมและเห่าสั้น ๆ แล้วให้สุนัขกัด

ในอีกไม่ช้าไม่นาน สุนัขจะต้องวิ่งตรงไปยังซุ้มที่สามที่ผู้ล่อยืนอยู่หน้าซุ้มทันที ให้แก้ไขพฤติกรรมนี้โดยจะได้รับการลงโทษด้วย “No” และสั่งให้สุนัขมาหา “Here” สุนัขจะเรียนรู้ได้ทันทีว่ามันจะต้องวิ่งค้นซุ้มหนึ่งและซุ้มสองก่อนที่จะมุ่งไปหาผู้ล่อ

ทำการเพิ่มซุ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนครบทั้งหกซุ้ม ผู้ล่อจะต้องอยู่ที่ซุ้มสุดท้ายเสมอ จนกว่าสุนัขจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและไม่พยายามที่จะวิ่งตรงไปหาผู้ล่อโดยเว้นซุ้ม

 

จัดตำแหน่งและความเป็นทีมเวิร์ค Developing Position and Team Work  

หากเราต้องการให้สุนัขวิ่งค้นซุ้มให้เต็มรูปแบบ โดยการค้นทั้งห้าซุ้มก่อนแล้วจึงจะไปหาผู้ล่อซึ่งอยู่ในซุ้มที่หก  ผู้จูงจะต้องคอยระวังตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของตนเองให้สอดคล้องกับทั้งตำแหน่งซุ้มต่าง ๆ และสุนัข หากผู้จูงเคลื่อนตัวเร็วเกินไป จะเป็นการผลักดันให้สุนัขล้ำหน้าไปมาก เป็นเหตุให้สุนัขเลยซุ้มได้ และหากผู้จูงเคลื่อนตัวช้าเกินไป ตำแหน่งของผู้จูงกับซุ้มไม่สัมพันธ์กันก็จะเป็นการดึงสุนัขกลับมาค้นซุ้มเดิมที่ได้ค้นไปแล้ว

 การฝึกเป็นประจำและประสบการณ์จะเป็นตัวบอกว่าผู้จูงควรจะเคลื่อนตัวเร็วหรือช้าเพียงใด เช่น การเคลื่อนตัวของผู้จูงขณะที่กำลังชี้แนวให้สุนัขค้นซุ้มต่อไปควรจะเสมอกับซุ้มที่สุนัขพึ่งค้นเสร็จแล้ว

อย่าแก้ไขสุนัขที่ค้นผิดซุ้มถ้าเป็นความผิดที่เกิดจากตำแหน่งของผู้จูงเอง ในการทำงานเป็นทีมนั้น ตำแหน่งของผู้จูงเป็นปัจจัยในการข้ามซุ้มหรือค้นซุ้มซ้ำของสุนัข หากเห็นว่าสุนัขกำลังจะไปซุ้มที่ไม่ถูกต้อง ให้เรียกสุนัขและ “No, Here” และเริ่มต้นใหม่จากซุ้มสุดท้ายที่สุนัขทำได้ถูกต้อง

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขวิ่งตรงไปยังซุ้มที่ผู้ล่อซ่อนอยู่ ด้วยการปฏิบัติง่าย ๆ คือสุนัขจะต้องมองมาที่ผู้จูงทุกครั้งที่ค้นซุ้มแต่ละซุ้ม เสร็จ ให้รางวัลสุนัขด้วยการสบตาและสั่งให้ไปซุ้มต่อไป หากสุนัขไม่มองมาที่ผู้จูงหลังจากค้นซุ้มเสร็จ ให้เรียกสุนัขมาหาทันที และเดินชิดไปยังซุ้มที่พึ่งค้นเสร็จเพื่อเริ่มค้นต่อไป

สุนัขจะทำการเปรียบเทียบและเรียนรู้ว่า หากมันมองมาที่ผู้จูงหลังจากที่ค้นซุ้มแค่ละซุ้ม มันก็จะได้ค้นในซุ้มต่อไป แต่หากมันไม่มองมาที่ผู้จูงหลังจากค้นซุ้มแต่ละซุ้มเสร็จ มันก็จะไม่สามารถค้นซุ้มต่อไปได้ ต้องมาเริ่มใหม่ซึ่งทำให้การหาผู้ล่อช้าลงไป

เมื่อสุนัขยอมรับการควบคุมนี้ดีแล้ว ให้ทำการเปลี่ยนตำแหน่งผู้ล่อให้ไปอยู่ในซุ้มต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการฝึก แต่ไม่ควรเปลี่ยนจุดผู้ล่อจนกว่าสุนัขจะทำการค้นซุ้มทั้งหกซุ้มได้ตามทิศทางที่ผู้จูงกำหนดเสียก่อน 

 

ขอให้ประสบความสำเร็จและสนุกสนานกับการฝึก

www.donmoonfarm.com

The Total Dobermann….Sound in mind and body.