ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
 
มือถือ 08-7189-4338
Email: info@donmoonfarm.com

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

การทดสอบความอดทน THE ENDURANCE TEST (AD)  (AusdauerprÜfung)

1. วัตถุประสงค

การทดสอบความอดทน Endurance Test  (AusdauerprÜfung) เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของสุนัขทางด้านร่างกายเมื่อออกกำลังจากการวิ่งระดับหนึ่งโดยไม่แสดงอ่อนล้า ซึ่งเราสามารถทราบถึงการทำงานของอวัยวะภายในของสุนัข โดยเฉพาะ หัวใจ และปอด ตลอดถึงความเคลื่อนไหวของสุนัข การทดสอบความอดทนยังเป็นการทดสอบคุณสมบัติด้านอื่น ๆ เช่น ความกระปี้กระเปร่า และความแข็งแกร่งบึกบึน ซึ่งเป็นที่ปรารถนาตามมาตรฐานของพันธุ์

2. คุณสมบัติของสุนัขที่จะเข้าทดสอบความอดทน

  • สุนัขจะต้องมีอายุ 16 เดือนเต็ม และไม่เกิน 6 ปี
  •  สุนัขจะต้องผ่านการประเมินข้อสะโพก HD
  • จะต้องยื่น Record card/Work book
  • สุนัขจะต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์ สุนัขป่วย สุนัขที่มีแรงไม่เพียงพอ สุนัขที่เป็นสัด และสุนัขตั้งท้อง หรือกำลังให้นมลูกไม่ควรทำการทดสอบ
  • กรรมการ 1 คนจะทำการทดสอบสุนัขได้ไม่เกิน 20 ตัว หากมีสุนัขเข้าทำการทดสอบมากกว่า 20 ตัว จะต้องเพิ่มกรรมการ
  • เมื่อเริ่มทำการทดสอบ หลังจากได้รับการเรียกขาน ผู้จูงเตรียมตัวเพื่อทำการตรวจสอลอัตลักษณ์ (การตรวจหมายเลขเบอณ์สักหรือหมายเลขไมโครชิพ
  • ผู้จูงจะต้องแจ้งต่อกรรมการถึงชื่อของผู้จูง และชื่อของสุนัข กรรมการและผู้จัดการทดสอบ trial manager จะต้องดูสุภาพของสุนัขว่าแข็งแรงสมบูรณ์
  • สุนัขที่แสดงความไม่พร้อม หรือความเหนื่อยจะไม่มีคุณสมบัติสำหรับการทดสอบ
  • ผู้จูงจะต้องมีความเป็นนักกีฬาตลอดการทดสอบ
  • ผู้จูงจะถูกตัดสิทธิ์จากการทดสอบ หากแสดงการละเมิดกฎของการทดสอบ
  • การตัดสินขึ้นกับกรรมการ และไม่มีข้อโต้แย้ง

การประเมินผล

การทดสอบความอดทนไม่มีการให้คะแนน แต่เป็นการทดสอบว่า “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” สุนัขที่ผ่านการทดสอบจะได้รับเอกสารรับรองว่าผ่านการทดสอบความอดทน AD

สภาพผิวพื้นที่ทำการทดสอบ

ผิวพื้นที่ทำการทดสอบความอดทนจะต้องเป็นผิวถนน หรือผิวทางที่มีวัสดุผิวที่แตกต่าง เช่น ผิวลาดยางมะตอย ผิวคอนกรีต และทางที่ไม่ได้ปูผิว

ระยะทางในการทดสอบความอดทน 20 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 12-15 กม./ชม.

การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ตอน

1. การทดสอบในการวิ่ง

อุณภูมิในการทดสอบไม่เกิน 22 องศาเซลเซียต

  • สุนัขจะต้องวิ่งเหยาะ ๆ Trot ในสายจูง( ทิศทางตามกฎจราจร) อยู่ด้านซ้ายมือของผู้จูงและข้างจักรยานโดไม่ดึง สายจูงจะต้องมีความยาวที่พอเหมาะเพื่อที่สุนัขจะได้ปรับระยะห่างความเร็วในการวิ่งได้ กรรมการและผู้จัดการทดสอบจะติดตามกลุ่มสุนัขไป อาจจะขี่จักรยานหรือนั่งรถเพื่อบันทึกอาการของสุนัข จำเป็นจะต้องมีรถสำหรับบรรทุกสุนัขที่บาดเจ็บ
  • เมื่อวิ่งได้ระยะทาง 8 กม.แรกให้หยุดพัก 15 นาที ในระหว่างการหยุดพักกรรมการจะสังเกตุอาการของสุนัข เช่น เท้าเจ็บหรือบวม สุนัขที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงจะถูกคัดออกจากการทดสอบ
  • หลังจากการพักในครั้งแรก สุนัขจะต้องวิ่งต่อเป็นระยะทาง 7 กม. แล้วหยุดพัก 20 นาที ก่อนที่จะเริ่มวิ่งต่อ กรรมการจะสังเกตุอาการของสุนัข เช่น เท้าเจ็บหรือบวม สุนัขที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงจะถูกคัดออกจากการทดสอบ
  • หลังจากการหยุดพักครั้งที่สอง สุนัขจะต้องวิ่งต่ออีก 5 กม. แล้วหยุดพัก 15 นาที ในระหว่างการหยุดพักกรรมการจะสังเกตุอาการของสุนัข
  • สุนัขที่ขาดความแข็งแกร่ง หรือแสดงอาการไม่กระปรี้กระเร่า หรือแสดงอาการอ่อนล้า และไม่สามารถวิ่งได้ในความเร็ว 12 กม. ต่อชั่วโมงได้ หรือใช้เวลาในการวิ่งมากเกิน สุนัขที่มีอาการเท้าระบมมาก หรือแสดงอาการกลัวเมื่ออยู่บนถนน จะถูกไม่ให้ผ่านในการทดสอบ

2. การทดสอบการเชื่อฟังคำสั่ง

หลังจบการทดสอบวิ่ง กรรมการจะให้คำอธิบายแก่ผู้จูงและสุนัข สุนัขจะต้องอยู่ในท่านั่งชิด เมื่อกรรมการเรียกให้ผุ้จูงงและสุนัขแสดงบททดสอบตามกฎของการทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งใน BH โดยให้สุนัขอยู่นอกสายจูง แต่ในการทดสอบนี้ไม่มีการทดสอบด้วยเสียงปืน