ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
มือถือ 08-7189-4338
Email: info@donmoonfarm.com

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

 

 

เลี้ยงดูลูกโดเบอร์แมนอย่างไรให้มีสุขภาพดี มีความสุข เชื่อมมั่นในตัวเอง

ความสม่ำเสมอ, ความอดทน, และความรอบคอบ เป็นกุญแจสำคัญต่อการดูแลเลี้ยงดูลูกโดเบอร์แมน การทำให้เกิดความมั่นใจแก่ลูกโดเบอร์แมน จะทำให้ลูกโดเบอร์แมนเข้าใจว่า “ทุกคนรักฉัน” จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความมั่นคง และเป็นโดเบอร์แมนหนุ่มที่มีความมั่นใจในตัวเอง

ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูลูกโดเบอร์แมนของคุณ

  1. ลูกโดเบอร์แมนไม่ได้ทำความผิด แต่เจ้าของเป็นคนทำต่างหาก เมื่อลูกโดเบอร์แมนทำไม่ถูก ให้คุณเดินไปหาลูกโดเบอร์แมน ห้ามแก้ไขลูกโดเบอร์แมนเมื่อเขาเดินมาหาคุณ แก้ไขด้วยความจริงจัง และตามด้วยการชมเชย คำสั่ง “มา” จะต้องเป็นคำสั่งที่มีความสุขที่ลูกโดเบอร์แมนได้ยิน อย่าเรียกลูกโดเบอร์แมนด้วยอารมณ์โกรธ
  2. ลูกโดเบอร์แมนจะเข้าใจคำใหม่ ๆ หากเจ้าของใช้เป็นประจำในขณะที่ลูกโดเบอร์แมนกำลังทำสิ่งนั้นอยู่ เช่น “ใครหิว”, “ไปฉี่”, “ออกไปนอก”, “ออกไป (จากโต๊ะรับแขก)”, “ไปที่นอน”, “รถ”, “ไปเดินเล่น”, “ขนม”, ไปเอา “ของเล่น”, “เงียบ”, เฝ้า” และ”หา” (บุคคล)
  3. ห้ามตีลูกโดเบอร์แมน โดยเฉพาะที่หน้า และที่หัว นอกจากจะเป็นการโหดร้ายแล้วยังก่อให้เกิดความกลัวมือ hand shy ในลูกโดเบอร์แมนด้วย ต้องเข้าใจว่าลูกสุนัขที่ฟันขึ้นจะกัดแทะทุกสิ่งเพื่อทำให้คลายการปวดฟัน แม้กระทั่งมือของเจ้าของ รองเท้าคู่โปรดของคุณ หรือเฟอร์นิเจอร์  ควรระวังเมื่อทำการแก้ไขลูกโดเบอร์แมนที่ฟันกำลังงอก ลุกโดเบอร์แมนจะงับมือคุณ ฟันที่แหลมคมของลูกสุนัขสามารถทำความเจ็บปวดให้แก่คุณได้ แต่คุณต้องเข้าใจว่าลูกโดเบอร์แมนไม่ได้แสดงอาการกร้าวร้าวต่อคุณ
  4. ห้ามหิ้วลูกโดเบอร์แมนโดยขาด้านหน้า เช่นเดียวกับที่คุณไม่ควรหิ้วเด็ก จะต้องอุ้มขาหลังด้วยมือข้างหนึ่งขณะที่มืออีกข้างหนึ่งอุ้มใต้อกบริเวณขาหน้า อย่าให้เด็กอุ้มลูกโดเบอร์แมน เพราะเด็กจะอุ้มไม่ถูกวิธี
  5. อย่าถือลูกบอล อาหาร หรือของเล่นอื่น ๆ ในอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกโดเบอร์แมนกระโดดเพื่อให้ได้ของนั้น มันอาจจะดูดี และน่ารัก แต่เวลาที่ลูกโดเบอร์แมนตกถึงพื้นอาจทำให้เป็นอันตรายต่อไหล่ เข่า หรือขาหลังได้ และจะเป็นการฝึกให้ลูกโดเบอร์แมนติดนิสัยในการกระโดดใส่คุณเพื่อให้ได้ของ และคุณคงไม่ต้องการให้โดเบอร์แมนขนาด 50 กก. กระโดดเข้าใส่คุณเพื่อเอาของเมื่อเขาโตเป็นโดเบอร์แมนหนุ่ม ไม่มีอะไรผิดที่ปล่อยให้ลูกโดเบอร์แมนกระโดดตราบใดที่ไม่เป็นการล้ำเส้น ลูกโดเบอร์แมนจะกระโดดเองอยู่ดีเวลาที่เขาเล่น เจ้าของควรใช้ประโยชน์จากของเล่นในการฝึกไม่ให้ลูกโดเบอร์แมนกระโดด โดยใช้คำสั่ง “ไม่กระโดด” หรือ “ไม่” เป็นต้น
  6. วางแผนสำหรับอนาคต วันหนึ่งลูกโดเบอร์แมนของคุณจะลงประกวดในสนามประกวด โดยการเริ่มต้นสอนคำสั่ง “มอง” เมื่อเวลาคุณจะให้ของแก่เขา ให้เขายืนด้วยหูที่ผึ่งไปข้างหน้า และกระตือรือล้น ไม่ใช่นั่ง
  7. ควรระวังเวลาลูกโดเบอร์แมนขึ้นหรือโดยเฉพาะเวลาลงบันได ควรอุ้มลูกโดเบอร์แมนลงบันไดจนกว่าจะมีอายุได้ 3 เดือน เราใช้ประโยชน์จากการขึ้นหรือลงบันไดในการใช้คำสั่ง “ขึ้น ขึ้น ขึ้น” หรือ “ลง ลง ลง”
  8. ฝึกให้ลูกโดเบอร์แมนคุ้นเคยกับการตรวจปากและฟัน เมื่อคุณเปิดปากลูกโดเบอร์แมน ให้ใช้คำสั่ง “อ้าปาก” และชวนผู้อื่นให้เปิดปากลูกโดเบอร์แมนของคุณด้วย หากคุณเปิดปากลูกโดเบอร์แมนและให้ผู้อื่นร่วมด้วย จะเป็นประโยชน์เมื่อกรรมการเปิดปากเขาเพื่อตรวจสอบฟันในการประกวดและคัดพันธุ์
  9. ผิวพื้นต้องไม่ลื่น ไม่ควรให้ลูกโดเบอร์แมนเล้นบนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นไม้ขัดมัน พื้นห้องครัวเป็นเวลานาน จะทำให้ขาถ่าง ควรเตรียมพรมมาปูทับเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
  10. การสอนให้ลูกโดเบอร์แมนคุ้นเคยกับสายจูงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นกระบวนการของการพัฒนาความสงบ และตอบสนองต่อสายจูง อย่าดึงหรือกระชากลูกโดเบอร์แมนเมื่อเริ่มสอนให้คุ้นเคยกับสายจูง โดยเดินตามลูกโดเบอร์แมนของคุณ คุณอาจใช้คำสั่ง “ตามสบาย” ในการฝึกใช้สายจูง
  11. กุญแจสำคัญในการฝึกการขับถ่ายของลูกโดเบอร์แมน คือ ความสม่ำเสมอ ทำซ้ำ ๆ และการชมเชย ให้ลูกโดเบอร์แมนอยู่ในสายตา เมื่อเขาตื่นขึ้น นำเขาออกไปนอกบ้านไปที่ ๆ คุณต้องการให้เขาขับถ่ายทันที ในเวลากลางคืน ให้เขานอนในกระบะใกล้ ๆ เตียงนอนของคุณ หากเขาต้องการจะออกไปทำธุระ เขาจะร้องเพื่อให้คุณรู้ อุ้มเขาออกไปข้างนอกแล้วใช้คำสั่ง “ฉี่” และชมเชยเขาเมื่อเขาปฏิบัติตาม หลังจากกินอาหารเสร็จ หรือหลังจากากรเล่นพาเขาออกไปข้างนอกเพื่อให้ขับถ่าย เมื่อเขาปฏิบัติ ให้ชมเชยเขา การฝึกฝนที่ดีคือเวลาที่คุณเห็นเขากำลังจะถ่ายในที่คุณไม่ต้องการ และใช้คำสั่ง “ไม่” แล้วรีบอุ้มเขาออกไปยังที่ ๆ คุณต้องการ เวลาที่คุณไม่อยู่บ้านให้จำกัดบริเวณเขาในพื้นที่ ๆ ห่างจากกรงนอน อาหาร และของเล่น อย่าขังกรง ให้จำกัดบริเวณปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
  12. ลูกโดเบอร์แมน ต้องการการออกกำลังกายมาก  การปล่อยให้วิ่งอย่างอิสระ จนถึงอายุ 18 เดือน พร้อมทั้งการใช้คำสัง “มา” และ”คาบ” เมื่อขว้างลูกบอล เป็นวิธีที่ดีสำหรับการออกกำลังกายของลูกโดเบอร์แมน       
  13. หูของลูกโดเบอร์แมนแสดงออกถึงอาการตื่นเต้น และการตั้งใจ ดามหูจนกว่าหูจะตั้งดี อย่าติดเทปทิ้งไว้เกินกว่า 5 วัน ให้เอาเทปออกเมื่อหูเริ่มตก แล้วดามหูใหม่ ให้แกะเทปออกระหว่างเวลากลางวัน ไม่ใช่เวลาที่ลูกโดเบอร์แมนเข้านอน
  14. หมั่นตัดเล็บลูกโดเบอร์แมนให้สั้นเสมอ คุณอาจจะค่อย ๆ ตัดหรือตะไบเล็บลูกโดเบอร์แมนทุก ๆ สัปดาห์ หากใช้ตะไบไฟฟ้า ควรให้ลูกโดเบอร์แมนคุ้นเคยกับเสียงก่อนการเริ่มตัดจริง
  15. ชาวเยอรมันมักกล่าวว่า “อย่าปลุกลูกสุนัขเวลาที่มันกำลังหลับ” เพราะระหว่างการนอนหลับ ร่างการมีการเจริญเติบโต ในระหว่าง 4 เดือนแรก ลูกโดเบอร์แมนต้องการนอนวันละ 15 ชั่วโมง
  16. เมื่อลูกโดเบอร์แมนกำลังทำอะไรอยู่ เช่น แทะกระดูก หรือเล่นของเล่น หรือสำรวจสนามหญ้า อย่ารบกวนเขา ประสาทเขากำลังเจริญเติบโตเมื่อเขาอยู่โดยลำพัง
  17. แนะนำให้ลูกโดเบอร์แมนคุ้นเคยกับพื้นผิวทั้งในบ้านและนอกบ้านทุกชนิด เช่น คอนกรีต พรม พื้นยาง เป็นต้น และเป็นความคิดที่ดีที่ให้ลูกโดเบอร์แมนได้เจอกับสิ่งกีดขวางที่ไม่สูงนัก เช่น กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ย ๆ หรือลอดอุโมงค์ ให้เล่นของเล่นหลากหลายชนิด ทั้งยาง และผ้า หรือแม้กระทั่งของกัดแทะต่าง ๆ

      เมื่อลูกโดเบอร์แมนมีอายุได้ 7 สัปดาห์ควรได้ผ่านประสบการณ์ตามกฏ 7 ดังนี้

·        คุ้นเคยกับผิวพื้น 7 อย่าง เช่น พรม คอนกรีต ไม้ ยาง หญ้า สกปรก กรวด เศษไม้

·        เคยเล่นกับวัตถุ 7 อย่าง เช่น ลูกบอลใหญ่ ลูกบอลเล็ก ของเล่นผ้านุ่ม ของเล่นกระดาษ ของเล่นโลหะ เศษท่อ กล่องกระดาษ

·        เคยไปสถานที่ต่าง ๆ 7 แห่ง เช่น สวนหน้าบ้าน สวนหลังบ้าน ใต้ถุนบ้าน ห้องครัว รถ โรงจอดรถ ห้องซักผ้า ห้องน้ำ กรง

·        เคยผ่านสิ่งท้าทาย 7 อย่าง เช่น ปีนกล่อง ลอดอุโมงค์ ขึ้นและลงบันได ข้ามสิ่งกีดขวาง เล่นซ่อนหา เข้าและออกประตูที่มีขั้นบันไดขึ้นและลง วิ่งรอบ ๆ รั้ว

·        พบพานกับผู้คนแปลกหน้า 7 ประเภท รวมถึงเด็กและผู้สูอายุ

·        กินในสถานที่ต่าง ๆ 7 แห่ง ในกรง สนามหญ้า ใต้ถุน ห้องซักผ้า ห้องรับแขก ห้องน้ำ เป็นต้น

·        กินกับภาชนะ 7 อย่าง เช่น โลหะ พลาสติก กระดาษ กล่องกระดาษ เซรามิกซ์ ชาม เป็นต้น

น้ำ ลูกโดเบอร์แมนจะไม่กินน้ำจนกว่าจะหย่านม เมื่อย่านม ควรเตรียมน้ำสะอาดด้วยอุณภูมิปรกติให้แก่ลูกโดเบอร์แมน

กระดูก กระดูกวัวชิ้นใหญ่จะช่วยทำให้ลูกโดเบอร์แมนลดการกัดแทะสิ่งของที่เราไม่ต้องการให้เขาทำ โดยเฉพาะระยะฟันงอก และจะทำให้ฟันสะอาด

วิตามิน ให้วิตามินซี แก่ลูกโดเบอร์แมนครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง และสำหรับโดเบอร์แมนอายุเกิน 2 ปี วันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 500 มิลลิกรัม วิตามินสำหรับคนก็ใช้ได้ดี ให้วิตามินรวม และ บี รวม วันละแคปซูล

ข้อควรระวังจากการใช้วิตามิน ซี ไม่ควรให้เกินขนาด แต่หากคุณสังเกตุอุจจาระของลูกโดเบอร์แมนหรือสุนัขของคุณเหลว ให้ลดขนาดการให้วิตามิน ซี ลง และค่อย ๆ ปรับให้ได้ขนาดเท่าเดิมเมื่อสุนัขปรับตัวได้แล้ว เพราะวิตามิน ซี อาจทำให้อุจจาระร่วง และท้องขึ้นได้ สุนัขแต่ละตัวมีภูมิต้านทานไม่เท่ากัน

ลูกโดเบอร์แมนควรได้รับวิตามิน อี วันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 200 หน่วยสากล (I.U.) สำหรับโดเบอร์แมนอายุเกิน 2 ปี วันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 400 หน่วยสากล (I.U.)

วิตามิน อี และวิตามิน ซี ทำงานด้วยกันได้ดีในการช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่ออ่อน soft tissue และช่วยลดปัญหาโรคเกี่ยวกับกระดูก panosteitis ซึ่งโดเบอร์แมนมีปัญหา

การฉีดยา ระวังเกี่ยวกับพาโว ไวรัส ซึ่งยังคงเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ปรึกษาสัตว์แพทย์เพื่อกำหนดตารางเวลาทำวัคซีน ลูกโดเบอร์แมนควรจะได้รับการทำวัคซีนพาโว ไวรัส และ ดีเอชเอล DHL อย่างน้อยอย่างละ 1 ครั้งก่อนที่จะแยกจากพี่น้องร่วมครอกและแม่ของเขา

วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ไม่ควรทำก่อนอายุครบ 6 เดือน เพราะจะทำให้ลูกสุนัขเครียด ยกเว้นกรณีที่คุณอยู่ในพื้นที่มีโรคพิษสุนัขบ้า ควรจะชะลอการทำวัตซืนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

การถ่ายพยาธิ์ ผู้ผสมพันธุ์โดเบอร์แมนควรจะมีตารางการถ่ายพยาธิ์ตั้งแต่ลูกโดเบอร์แมนอายุได้ 3 สัปดาห์ พยาธิ์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ชลอการเจริญเติบโตของลูกสุนัข ทำการตรวจอุจจาระสุนัขทุก ๆ สองสัปดาห์ จนถึงอายุ 4 เดือน ท้องลูกสุนัขที่ป่องพอง หรือการมีน้ำมูกอาจมีสาเหตุจากพยาธิ์ การปฏิเสธอาหารเป็นอาการของโรคพยาธิ์ หลังจากอายุได้ 4 เดือน ให้ทำการตรวจอุจจาระสุนัขเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน ยาถ่ายเฉพาะสำหรับพยาธิ์ตัวแบน คือ Droncil ปัญหาเรื่องการมีหมัดมักเกี่ยวกับโรคพยาธิ์ตัวแบน ลูกโดเบอร์แมนที่มีหมัดและพยาธิ์ตัวแบนควรถ่ายพยาธิ์ด้วย Droncil พยาธิ์ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ พยาธิ์ตัวกลม ลูกสุนัขเกิดมาพร้อมกับพยาธิ์ตัวกลม ใช้ยาถ่าย  Strongid T หรือ Nemex พยาธิ์แส้ม้าและพยาธิ์ปากขอเกิดจากการสัมผัสกับหญ้า ใช้ยาถ่าย Panacure สำหรับการรักษาพยาธิ์ตัวกลม พยาธิ์ปากขอ และพยาธิ์แส้ม้า ไม่ควรใช่ยาถ่ายทั่วไปที่ไม่ระบุใช้เฉพาะสำหรับพยาธิ์แต่ละชนิด  

อาการที่แสดงว่าสนัขป่วย

·         ไม่กินอาหาร

·         อุจจาระร่วง

·         อาเจียร

·         ขนหยาบ ขาดความมัน

·         มีขี้ตา

·         เซื่องซึม

เมื่อเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เราอาจรักษาโดยการหุงข้าวขาวและเนื้อบดปราศจากมัน ให้พร้อมกับ Pepto-Bismol สำหรับอาการปวดท้อง หากโดเบอร์แมนมีอาการดังกล่าวทั้งหมด แสดงว่าสุนัขป่วยหนัก ให้รีบพาโดเบอร์แมนของคุณไปหาสัตว์แพทย์โดยด่วน

การให้อาหาร ควรให้อาหารลูกโดเบอร์แมนวันละ 3 มื้อจนกว่าจะอายุครบ 4 เดือน ลูกโดเบอร์แมนควรได้รับอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่หลาย ๆ ครั้ง เมื่ออายุครบ 4 เดือนให้ลดอาหารเหลือวันละ 2 มื้อตลอดอายุของสุนัข

ลูกโดเบอร์แมนอายุตั้งแต่ 4 เดือนจนถึง 1 ปี ควรจะได้รับอาหารที่มีคุณภาพ เนื้อสด โยเกิร์ต และไข่ต้ม ไม่ควรเลี้ยงอาหารแห้งที่มีโปรตีนสูง ปลาสุกที่ไร้ก้างเป็นอาหารที่ดีเยี่ยมสำหรับลูกโดเบอร์แมน โดยเฉพาะปลาทูนา tuna และปลาแมกคาเรล mackerel รวมถึงซีเรียลร้อน cereals ผัก และผลไม้ ลูกโดเบอร์แมนจะชอบอาหารว่างก่อนนอนจากนมแพะอุ่น ข้าว และ cottage cheese

ลูกโดเบอร์แมนจะมีความสุขกับสภาพแวดล้อมเป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น ควรให้อาหารลูกโดเบอร์แมน เวลาเล่น แม้กระทั้งเวลานอนควรตรงเวลา

การแนะนำเข้าสังคม Socialization ควรพาลูกโดเบอร์แมนไปไหนมาไหนกับคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นไปชอปปิ้ง การไปเยียมเพื่อน หรือไปรับเด็กจากโรงเรียน มันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกโดเบอร์แมนที่จะได้พบกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และแบ่งปันเวลาที่มีคุณภาพระหว่างคุณกับลูกโดเบอร์แมน ไม่ควรทิ้งลูกโดเบอร์แมนไว้เพียงลำพังในรถ โดยเฉพาะเวลาที่มีอากาศร้อน

โดยสรุปแล้ว การเลี้ยงดูลูกโดเบอร์แมน ควรระลึกเสมอว่า ในการเล่น ลูกโดเบอร์แมนควรจะชนะในทุก ๆ โอกาส เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด การเล่นชักกะเย้อก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการที่จะสอนให้ลูกโดเบอร์แมนชนะ และสอนให้รู้จักปล่อยวัตถุเมื่อสั่งให้ปล่อยหลังจากที่ชนะแล้ว ด้วยคำสั่ง “ปล่อย” หรือ “จบเกมส์” หากคุณต้องการจะสั่ง “ไม่” หรือถ้าคุณต้องการทำอะไรบางอย่าง ใช้คำสั่งที่เฉพาะที่ได้อธิบายข้างต้นมาแล้ว หลังจากจบการเล่นที่ตื่นเต้น ให้ใช้คำสั่ง “ไปข้างนอก” ดั่งที่ใช้เมื่อต้องการให้สุนัขออกไปขับถ่ายข้างนอกหลังจากการเล่น และควรสอนให้ลูกโดเบอร์แมนมาหาคุณทุกครั้งที่ใช้คำสั่ง “มา” ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดตลอดการเรียนรู้ และอย่าลืมว่าบังคับลูกโดเบอร์แมนน้อยเท่าไรก็จะเป็นผลดียิ่งขึ้น คุณไม่สามารถที่จะอุ้มเขาไปไหนมาไหนได้ตลอด ลูกโดเบอร์แมนโตเร็วมาก  

 

Back to Articles page