ติดต่อเรา
156 หมู่ 3 ตำบลดอนมูล
อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
 
มือถือ 08-7189-4338
Email: info@donmoonfarm.com

Hit Counter

Last updated: 21 June 2014 09:23 AM

 

 

การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์ Clicker Dog Training

คลิ๊กเกอร์คืออะไร

Operant condition
Classical condition
ลำดับการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร
ประโยชน์ของคลิ๊กเกอร์ในการฝึกสุนัข
เริ่มต้นฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์

คลิ๊กเกอร์เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ของสุนัข ปัจจุบันเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดและการเรียนรู้ของสัตว์ รวมทั้งสุนัขของเราด้วย คลิ๊กเกอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกับความรู้นี้ในชีวิตจริงในปัจจุบัน

การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์เป็นการฝึกเชิงบวก, เป็นการให้รางวัลเป็นพื้นฐานเบื้องต้นซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบสนอง, ความคงเส้นคงวา, การกระทำซ้ำ ๆ และการเสริมสร้างในเชิงบวก การฝึกด้วยคลิ๊กเกอร์จะไม่ใช้ความรุนแรงและการแก้ไขที่ดุดัน  สิ่งที่ดีของการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์คือผลลัพธ์ที่เจ้าของและสุนัขจะได้รับ รวมถึงความสนุกในแต่ละกระบวนการฝึก

การใช้คลิ๊กเกอร์ในการฝึกปลาโลมาเริ่มขึ้นประมาณปี 1960 และมีการใช้คลิ๊กเกอร์ในการฝึกสุนัขในช่วงปี 1990  และได้รับความนิยมเรื่อยมา  

คลิ๊กเกอร์คืออะไร

คลิ๊กเกอร์เป็นของเล่นพลาสติกซึ่งประกอบด้วยแผ่นโลหะ สามารถทำให้เกิดเสียงได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน เมื่อเรากด สำหรับการฝึกสุนัข คลิ๊กเกอร์ไม่มีเวทมนต์อะไร แต่คลิ๊กเกอร์ให้ความแม่นยำในการกำกับพฤติกรรมที่เรากำลังฝึกฝนแก่สุนัขและสุนัขตอบสนองได้อย่างถูกต้อง

ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ปลอกคอแบบกระชาก เช่น Chock chain Prong Collar และการแก้ไขที่ดุดันในการฝึกสุนัขด้วยคลิกเกอร์อีกต่อไป

การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์ทำอย่างไร และเจ้ากล่องพลาสติกเล็ก ๆ นี้จะฝึกสุนัขของเราได้หรือ?

คลิ๊กเกอร์ไม่สามารถฝึกสุนัขของเราได้เอง แต่มันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการฝึก การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ฝึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสุนัข, จิตวิทยาของสุนัข และหลักของพฤติกรรมศาสตร์เกี่ยวกับเงื่อนไขกับผลของการกระทำ operant conditioning และ การเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning ซึ่งเจ้าของจะทราบว่าเมื่อใดควรจะรวมเอาหลักการทั้งสองนี้เข้าด้วยกันได้จากการสื่อสารอย่างเข้าใจระหว่างเจ้าของกับสุนัขที่ทำการฝึก

หัวใจในการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์มีหลักการคือ พฤติกรรมที่ได้รับการตอบสนองโดยการให้รางวัลมักจะเกิดขึ้นอีก แต่ในทางกลับกัน พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการตอบสนองจะไม่เกิดขึ้นอีก

ในการฝึกสุนัขแบบดั้งเดิมนั้น สุนัขเรียนรู้ว่าอะไรควรจะทำ และอะไรที่ไม่ควรเมื่ออยู่ร่วมกับคน จากอากัปกริยาของคน เช่นเดียวกับในฝูงสุนัขป่า สุนัขเรียนรู้อะไรควรและไม่ควรเมื่ออยู่ร่วมกับสุนัขอื่นจากอากัปกริยาของสุนัขอื่น

แต่ในการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์ สุนัขเรียนรู้วิธีหาอาหาร, เพิ่มพูนทักษะ และค้นพบทางใหม่ที่สนุกสนานเช่นเดียวกับที่เคยเรียนรู้ในธรรมชาติจากการท่องโลกด้วยตัวของมันเอง นี่คือเครื่องมือการสื่อสารที่ชาญฉลาดของการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร  

Operant Condition:

โดยพื้นฐานแล้วเป็นการเอาข้อได้เปรียบจากความจริงที่ว่า สุนัขเรียนรู้โดยผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมัน หมายความว่า หากเราควบคุมผลของการกระทำของสุนัข เราก็สามารถควบคุมพฤติกรรมสุนัขของเราได้ เราจะควบคุมผลของการกระทำของพฤติกรรมสุนัขโดยการตอบสนองต่อพฤติกรรมนั้น

คุณคงเคยสงสัยว่าผู้ฝึกสุนัขที่ดี ทำไมถึงใช้เทคนิคในการฝึกสุนัขเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสุนัข เช่น การเห่าอย่างไม่มีเหตุ การกัดแทะสิ่งของ การขับถ่ายในบ้าน และกระโดดใส่ผู้มาเยือน หรือผู้ฝึกสุนัขทำอย่างไรในการฝึกสุนัขในการแข่งขันเชื่อฟังคำสั่งและการแข่งขันสุนัขใช้งาน นอกเหนือจากวิธีทางธรรมชาติแล้วผู้ฝึกสุนัขจะต้องมีความเข้าใจดีเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของสุนัข ผู้ฝึกสุนัขจะใช้ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์และใช้ความรู้นี้มาประยุกต์ใช้ในการฝึก บทความนี้ได้อธิบายวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการฝึกสุนัขให้เข้าใจง่ายขึ้น และเป็นหัวใจในการฝึกสุนัขแบบมืออาชีพ

เงื่อนไขกับผลของการกระทำ Operant condition เป็นคำศัพท์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการอธิบายสิ่งที่ผู้ฝึกสุนัขเรียกว่า การฝึกด้วยผลจากการกระทำ training with consequence หมายความว่า การฝึกใด ๆ ที่เกี่ยวกับผลจากการกระทำไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างพฤติกรรม หรือการลงโทษพฤติกรรม ผลของการกระทำ consequence ที่ใช้ในเงื่อนไขกับผลของการกระทำ Operant condition มีอยู่ 4 แบบ และที่ไม่มีผลของการกระทำ non-consequence อีก 1 แบบ คือ

  1. การเสริมสร้างเชิงบวก Positive reinforcement (+R)  เมื่อเราให้รางวัลแก่สุนัขจะทำให้ลักษณะทางพฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น หรือคงเดิม เช่น สุนัขนั่งเมื่อสั่ง เราให้เหยื่อ สุนัขได้เรียนรู้จักการนั่งเมื่อสั่งในอนาคต  

  2. การเสริมสร้างเชิงลบ Negative reinforcement (-R) เมื่อเราเอาสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกไปลักษณะทางพฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น หรือคงเดิม เช่น เราสั่งสุนัขนั่งโดยดึงปลอกคอ สุนัขนั่ง แล้วเราปล่อยแรงดึงปลอกคอ สุนัขได้เรียนรู้จักการนั่งเมื่อสั่งในอนาคต  

  3. การลงโทษเชิงบวก Positive punishment (+P) เมื่อเราให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ลักษณะทางพฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น หรือคงเดิม เช่น สุนัขเข้าไปในครัวเพื่อดมหาอาหาร เราส่งเสียงดัง สุนัขได้เรียนรู้ที่จะไม่ดมหาอาหารในครัวในอนาคต  

  4. การลงโทษเชิงลบ Negative punishment (-P) เมื่อเราเอาสิ่งที่สุนัขชอบออกไป ลักษณะทางพฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น หรือคงเดิม เช่น สุนัขเล่นแรงกับลูกสุนัขเล็ก เราใส่สายจูงแล้วพาสุนัขออกไปไม่ให้เล่น สุนัขได้เรียนรู้ที่จะไม่เล่นแรงกับลูกสุนัขในอนาคต  

  5. การระงับ Extinction เมื่อพฤติกรรมไม่ได้รับการเสริมสร้าง และจะเลือนหายไป เช่น สุนัขมักจะนั่งเห่าหอที่ประตูแล้วได้รับอนุญาตให้ออกไปข้างนอก แต่เมื่อสุนัขเห่าหอนที่ประตูเจ้าของไม่อนุญาตให้ออกไปข้างนอก สุนัขได้เรียนรู้ไม่เห่าหอนที่ประตู แต่ในบางครั้งการระงับ Extinction กลับทำให้พฤติกรรมแย่ลงก่อนที่จะดีขึ้น บางครั้งได้ผลดี เรียกว่า extinction burst ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพฤติกรรมนี้จะเหือดหายในไม่ช้า เช่น สุนัขจะเห่าหอนมากขึ้น ดังขึ้น หลังจากนั้นอีกระยะหนึ่งหลังจากที่ได้เรียนรู้ว่าการเห่าหอนใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

ลองมาศึกษาเกี่ยวกับความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจาก ระงับ extinction ยังมีอีก 4 คำที่ใช้ในพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป คือ เชิงบวก Positive, เชิงลบ Negative, การเสริมสร้าง Reinforcement, การลงโทษ Punishment ซึ่งเป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้นิยามในเงื่อนไขกับผลของการกระทำ Operant condition

 

เชิงบวก Positive หมายถึง การเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป เช่น เราเพิ่มรางวัลเราเพิ่มการลงโทษ

เชิงลบ Negative หมายถึง เราเอาบางสิ่งบางอย่างออกไป เช่น เรางดให้รางวัล เรางดการกระตุ้นที่สุนัขชื่นชอบ

การเสริมสร้าง Reinforcement เมื่อเราเพิ่ม หรือรักษาระดับพฤติกรรม พฤติกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเข้มข้นขึ้น ระยะเวลานานขึ้น หรือต่อเนื่องโดยไม่ได้ลดความถี่ ความเข้มข้น และระยะเวลา และในทางกลับกัน

การลงโทษ Punishment เกิดขึ้นเมื่อเราลด หรือขจัดพฤติกรรมโดยผลจากการกระทำ เราลดความถี่ ความเข้มข้น หรือระยะเวลาของพฤติกรรม

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปคือ สมมุติว่าเราเสริมสร้างหรือลงโทษต่อพฤติกรรม แต่เราพบว่าในภายหลังพฤติกรรมนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง ผู้ฝึกสุนัขส่วนมากเข้าใจว่าการชมเชยเป็นการเสริมสร้างที่ได้ผลดี มันอาจจะได้ผลดีกับสุนัขบางตัวและกับบางสถานการณ์เท่านั้น ความจริงก็คือ เราจะไม่ทราบจนกว่าเราจะเห็นพฤติกรรมที่เราชมเชยนั้นเพิ่มขึ้นหรือยังคงเกิดขึ้นในอนาคต เช่นเดียวกับการลงโทษ การตะโกนด่าสุนัขอาจหยุดไม่ให้สุนัขไปยุ่งกับถังขยะในขณะที่ผู้ฝึกอยู่บริเวณนั้นเท่านั้น แต่เมื่อผู้ฝึกไม่อยู่สุนัขก็จะไปยุ่งกับถังขยะเหมือนเดิม แต่แนวทางที่ได้ผลสัมฤทธิ์ก็คือการใช้ถังขยะที่มิดชิดหรือเก็บถังขยะในที่ที่สุนัขเข้าหาไม่ได้มากกว่า

ที่กล่าวมาทั้ง 5 ตัวแบบนั้นหมายความว่าอย่างไร? ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ผลของการกระทำในรูปแบบใดในการที่จะทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นเรื่อย ๆ หรือทำให้มันเลือนหายไป

ตัวอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับการฝึกสุนัขจากผลของการกระทำต่าง ๆ ของพฤติกรรมสุนัข (เงื่อนไขกับผลของการกระทำ operant conditioning)

  1. เมื่อเราให้เหยื่อแก่สุนัขทุก ๆ ครั้งที่สุนัขนั่ง เป็นการให้รางวัลหรือเสริมสร้างพฤติกรรมในการนั่งให้แก่สุนัข ดังนั้นสุนัขจะนั่งในครั้งต่อไปที่สั่งให้นั่ง  

  2. โดยหลักการเดียวกันนี้ หากสุนัขของเรากระโดดเข้าใส่เราแล้วเราให้การตอบรับโดยการกอดรัด หรือลูบเกาบริเวณหลังหูแก่สุนัข เป็นการให้รางวัลและเป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมในการกระโดดเข้าใส่ แล้วสุนัขของเราก็จะกระโดดเข้าใส่เราทุกครั้ง

Classical condition:

เมื่อเรารวมเอาประโยชน์ของหลักการเงื่อนไขกับผลของการกระทำ operant conditioning เข้าด้วยกับพลังของหลักการเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่สุดยอด

การเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning คือ การกระตุ้นเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อกันให้มีความสัมพันธ์กัน

คิดในมุมมองของสุนัข เมื่อสุนัขเห็นเราสรวมเสื้อแจ๊กเก็ต สุนัขจะตื่นเต้นดีใจเพราะมันเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับการได้ออกไปเดินเล่น ในสมองของสุนัขมีการเชื่อมโยงเหตุการณ์สองเหตุการณ์นี้เข้าด้วยกัน (เจ้าของสรวมเสื้อ กับได้ออกไปเดินเล่น)

ในการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์นั้น เสียงของคลิ๊กเกอร์จะเป็นความสัมพันธ์กับการได้รับรางวัล เมื่อสุนัขได้ยินเสียงคลิ๊ก สุนัขจะคิดว่ามันจะได้รับเหยื่อที่ชอบในไม่ช้านี้ เป็นสิ่งที่น่าทึ่งที่สุนัขสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็วระหว่างเสียงคลิ๊กกับเหยื่อที่ชอบ

หมายเหตุ ไม่ต้องกังวลกับทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ที่ดูแล้วน่าสับสน พลังและประสิทธิผลของการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์จะทำให้คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้เมื่อคุณได้เริ่มใช้มัน

แล้วทฤษฏีนี้มีความหมายอย่างไรในเมื่อการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์นั้นเน้นที่การกำหนด marking และการให้รางวัล rewarding ต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ desireable behavior ของสุนัขมากกว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ undesireable behavior ของสุนัข ในการฝึกด้วยคลิ๊กเกอร์เป็นการจูงใจ, การชมเชย และการให้รางวัล ซึ่งปราศจากการคุกคามหรือการแก้ไข้ทำโทษที่ดุดัน (ไม่เหมือนกับการฝึกโดยวิธีอื่น) เป็นการเน้นในการเสริมสร้างทางบวก positive reinforcement ทำให้สุนัขมีความอิสระและความมั่นใจต่อการคิด การเรียนรู้และการทดลองตลอดกระบวนการฝึก ความสามารถตามธรรมชาติของสุนัขได้รับการส่งเสริมและการได้รับรางวัลมากกว่าความกดดันจากการคุกคามและการแก้ไขที่ดุดัน ในมุมมองของสุนัขนั้น สุนัขสามารถจดจ่อต่อความท้าทายในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และทดลองต่อสิ่งแปลกใหม่มากกว่าที่จะพะวงเกี่ยวกับผลลัพธ์จากการกระทำผิด แล้วคุณคิดว่าวิธีการฝึกสุนัขแบบใดที่ทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของสุนัข และความผูกพันระหว่างสุนัขกับผู้ฝึกมีมากกว่ากัน

โดยทั่วไปแล้ว คลิ๊กเกอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ในการสร้าง, การฝึกฝน และเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ประโยชน์ของมันคือมุ่งเน้นไปยังพฤติกรรมที่เราต้องการ เช่นนั่ง, หมอบ, คอย ฯ เกิดขึ้น มันจะกำหนดเหตุการณ์ หรือ พฤติกรรม และทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก (ซึ่งเป็นสิ่งที่สุนัขต้องการเรียนรู้) สุนัขจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเสียงคลิ๊กเกอร์เป็นเสียงที่ดีมีรางวัลตามมา และมันกระตือรือร้นที่จะได้ยินเสียงอันแสนหวานนี้ ผู้ฝึกบางรายเรียกคลิ๊กเกอร์ว่า ตัวเชื่อมในการกระตุ้น bridging stimulus หมายถึง เสียงคลิ๊กเชื่อมโยงถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์กับรางวัล (เหยื่อ หรือการชมเชย ฯ) เสียงคลิ๊กยังส่งนัยไปถึงสุนัขว่าพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้บรรลุแล้ว หมายถึงงานของมันเสร็จเรียบร้อย

เมื่อเราได้รับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (นั่ง, หมอบ, คอย ฯ) เป็นที่ถูกต้องดีแล้ว เราจะค่อย ๆ ละทิ้งการใช้คลิ๊กเกอร์เหลือเพียงใช้การให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เมื่อนั้นเราและสุนัขก็สามารถเริ่มการฝึกอื่น ๆ ต่อไป

เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้แนวทางการเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning ในการฝึกสุนัข เราจะทำการฝึกบทเรียนง่าย ๆ ไม่ควรเริ่มฝึกสุนัขด้วยบทเรียนที่ต้องใช้ทักษะมากแก่สุนัข แต่นี่เป็นบทเรียนที่สำคัญมากในการเริ่มต้นฝึกสุนัขด้วยแนวทางการเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning ดังนั้นบทเรียนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกมากกว่าแก่สุนัข

การฝึกนี้ไม่สามารถทำได้กับสุนัขที่ไม่สามารถกินอาหารชิ้นได้ เช่น สุนัขอายุน้อยมาก หรือสุนัขที่ต้องให้อาหารพิเศษเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ

เตรียมเหยื่อประมาณ 15 – 20 ชิ้นสำหรับการฝึกสุนัข เหยื่ออาจเป็นอาหารที่สุนัขชอบ เช่น ชิ้นเนื้อไก่, อาหารสุนัข หรือฮอทดอกหั่นเป็นชิ้น เหยื่อควรมีขนาดเล็กพอประมาณ

สุนัขที่จะฝึกจะต้องไม่ใส่สายจูง ดังนั้นจึงควรฝึกในสถานที่ ๆ มีรั้วรอบในการฝึกสุนัขด้วยแนวทางการเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning ควรเป็นสถานที่สุนัขคุ้นเคย และไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิสุนัข ดังนั้นในสถานที่ฝึกจะมีผู้ฝึก, สุนัข และเหยื่อเท่านั้น สถานที่ ๆ เหมาะสำหรับทำการฝึก เช่น ในครัว, ในห้องกว้าง หรือสวนหลังบ้านที่มีรั้วรอบ เป็นต้น

อีกประการหนึ่ง เพราะว่าการฝึกในแนวทางนี้เป็นการฝึกด้วยอาหาร จึงเหมาะที่จะฝึกสุนัขก่อนมื้ออาหารของสุนัข สุนัขจะมีความหิวและจะทำให้สุนัขสนใจเหยื่อ จากนั้น

  1. กำชิ้นเหยื่อไว้ในมือ ที่เหลือเก็บไว้ในกระเป๋า ให้สุนัขได้ดมเพื่อทำให้เกิดความสนใจ แต่อย่าให้สุนัขกินเหยื่อ  

  2. จากนั้นกดคลิ๊กเกอร์ และให้เหยื่อแก่สุนัขทันที่หลังจากเสียงคลิ๊ก 

  3. ทำซ้ำในกระบวนการเดิน 7 – 8 ครั้ง จนสังเกตุเห็นสุนัขจ้องมองเหยื่อในมือทุกครั้งที่ได้ยินเสียงคลิ๊ก  

  4. หยุดคลิ๊กและให้เหยื่อแก่สุนัข และเมินเฉยต่อสุนัขสักครู่ เมื่อสุนัขมองไปทิศทางอื่น ให้คลิ๊กอีกครั้ง สุนัขจะมองมาที่ผู้ฝึกหรือที่มือของผู้ฝึกด้วยใจจดใจจ่อ ให้เหยื่อแก่สุนัข จบการฝึกหัดและให้อาหารสุนัขมื้อปรกติ

เกิดอะไรขึ้นจากการฝึก? สุนัขได้เชื่อมโยงเสียงคลิ๊กกับเหยื่อ กระบวนการนี้เรียกว่า การเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning ซึ่งค้นพบโดยนักสรีรศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ Ivan Pavlov และเป็นสิ่งแรกที่ผู้ฝึกสุนัขจะต้องทำในการฝึกสุนัข เพราะว่า การเรียนรู้ความสัมพันธ์ classical conditioning นั้น เสียงคลิ๊กเป็นสัญญาณที่ส่งถึงสุนัขว่าของดีกำลังจะมา เช่น อาหาร, เกมส์ หรือเดินเล่น เป็นต้น นี่เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะว่า สัญญาณเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่สุดในการสื่อสารกับสุนัขที่กำลังฝึก

ลำดับการฝึกสุนัขด้วยคลิกเกอร

เรามาพิจารณาแนวทางการฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์ แบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ พึงระลึกเสมอว่าสุนัขรู้จักงานที่ต้องทำดีแล้ว เราเพียงต้องการสื่อความหมายที่ชัดเจนถึงมันว่ามันต้องทำอะไร

  1. ทำให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เกิดขึ้น Get the desired behavior to happen – การล่อสุนัขทำในสิ่งที่ประสงค์โดย target stick หรือให้มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 

  2. กำหนด mark พฤติกรรมที่พึงประสงค์เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น Mark the behavior the instant happens - โดยกดคลิ๊กเกอร์  

  3. ให้รางวัล/เสริมสร้างพฤติกรรม Reward/Reinforce the behavior – โดยการให้เหยื่อ, ชมเชย ฯ  

  4. ทำให้เป็นนิสัย Generalize the behavior – หมั่นฝึกฝนในทุก ๆ สถานที่, เพิ่มความท้าทายโดยการเพิ่มระยะเวลาในการฝึก, ระยะทาง และสิ่งที่ทำให้เกิดความไขว้เขวในระหว่างการฝึก

  5. ให้คำนามกับพฤติกรรม Cue the behavior – ใช้คำ หรือสัญญาณ เช่น นั่ง, หมอบ และคอยฯ

  6. ลดการใช้คลิ๊กเกอร์และเหยื่อลงตามลำดับ Gradually fade the clicker and treats.

ประโยชน์ของคลิ๊กเกอร์ในการฝึกสุนัข

  1. สร้างความผูกพันระหว่างผู้ฝึกและสุนัข จากการทำงานร่วมกันและการยอมรับซึ่งกันและกัน

  2. เป็นการฝึกเชิงบวก, นุ่มนวล ปราศจากการคุกคาม และเป็นการฝึกที่สร้างแรงจูงใจ

  3. เป็นการฝึกที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้ผล  

  4. เหมาะที่สุดสำหรับฝึกกับสุนัขวัยเยาว์ - และไม่เป็นการช้าเกินไปสำหรับการฝึกสุนัขทุกวัยด้วยวิธีนี้  

  5. มุ่งเน้นไปที่สิ่งใดถูกต้องมากกว่ามุ่งเน้นไปที่สิ่งใดผิด ซึ่งทำให้สุนัขเกิดความมั่นใจสูง

  6. ทำให้สุนัขสามารถคิดและมีความสร้างสรรค์  

  7. เป็นวิธีฝึกที่ให้อภัยมากว่า – เพียงแค่ออกไปข้างนอก แล้วทดลองฝึกดู  

  8. สุนัขมีอารมณ์ดีมากระหว่างการฝึก และไม่เครียด

  9. การฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการฝึกสุนัขขนาดใหญ่ เพราะว่าเราทำงานร่วมกับสุนัขมากกว่าการกดดันสุนัข ดูสิเขายังฝึกแรดด้วยคลิ๊กเกอร์ แล้วอย่ามัวยึดติดว่าการฝึกด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผลกับสุนัขใหญ่

 

เริ่มต้นฝึกสุนัขด้วยคลิ๊กเกอร

เมื่อคุณมีคลิ๊กเกอร์คุณก็พร้อมที่จะฝึกสุนัขของคุณด้วยแนวทางที่ใหม่และสนุกสนาน คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเริ่มต้นการฝึกที่ถูกต้อง

ขั้นตอนที่ 1: Charge up your clicker

คลิ๊กที่คลิ๊กเกอร์หนึ่งครั้ง และให้เหยื่อแก่สุนัข ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคลิ๊กเกอร์ (โดยการมอง, หูผึ่ง หรือมองที่เหยื่อ) หากสุนัขตอบสนอง แสดงว่าเขาพร้อมในขั้นตอนต่อไป

แนะนำ: หาอาหารหรือของขบเคียวที่สุนัขของคุณชอบเป็นเหยื่อ เพราะสุนัขจะเพลิดเพลินและมีความพร้อมสำหรับบทเรียนอื่นต่อไป

เทคนิค: ในขั้นตอนนี้เรียกว่าการเสริมสร้างขั้นทุติยภูมิ secondary reinforcer แต่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า เพิมพลังให้แก่คลิ๊กเกอร์ Charging up the clicker

ควรจำ: คลิ๊กก่อนแล้วให้เหยื่อ

ขั้นตอนที่ 2: สามแนวทางในการฝึก: จับพฤติกรรม Capturing, ล่อ Luringหรือ สร้างพฤติกรรม Sharping brhaviors

จับพฤติกรรม Capturing behaviors: รอจนกว่าสุนัขแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่คุณชื่นชอบ จะเป็นกริยาท่าทางอะไรก็ได้ เช่น ยกขาขึ้นข้างหนึ่ง, นั่ง, เอาจมูกมาแตะที่มือ หรือมองมาที่คุณ (สำหรับสุนัขทีไม่สนใจมองคุณ) หรือตอนยืนบนพื้นด้วยเท้าทั้งสี่ข้าง (สำหรับสุนัขที่ชอบกระโดดใส่คุณ)

เมื่อคุณเห็นกริยาที่คุณชอบ ให้คลิ๊กในขณะที่สุนัขแสดงกริยานั้น ๆ และให้เหยื่อ

แนะนำ: หากสุนัขไม่สนใจขณะที่คุณให้เหยื่อ ให้กลับไปในขั้นตอนที่ 1

หมายเหตุ: ไม่ต้องไปกังวลในการเรียกชื่อท่าท่างสุนัขในขั้นตอนนี้ สุนัขเรียนรู้จากความสัมพันธุ์ระหว่างท่าทางกับคลิ๊กเกอร์และเหยื่อ และคุณต้องการให้สุนัขมีความสัมพันธ์กับคำสั่ง หรือชื่อท่าทาง) อาจเป็นการรบกวนสมาธิสุนัขได้

ล่อให้แสดงพฤติกรรม Luring a behavior

กำเหยื่อไว้ด้านหน้าจมูกสุนัข สุนัขจะพยายามเลียเหยื่อ แต่อย่าให้เหยื่อแก่สุนัขกิน คุณอาจใช้จมูกเป็นตัวกำกับกริยา เพราะสุนัขจะดมไปตามทุกทิศที่เหยื่อไป คุณอาจล่อ หรือสอนให้สุนัขทำกริยาที่คุณต้องการ เช่น อาจล่อให้สุนัข “นั่ง” โดยการเลื่อนเหยื่อไปจากจมูกสุนัขช้า ๆ ไปด้านหลังของหัวส่วนบน (อย่ายกเหยื่อสูง เพื่อป้องกันสุนัขกระโดด) เมื่อสุนัขทำท่าทางที่คุณ ต้องการ ให้คลิ๊ก และให้เหยื่อที่อยู่ในมือแก่สุนัข

สร้างพฤติกรรม Sharping behavior

เป็นขั้นตอนที่สูงจากการจับพฤติกรรม ในขั้นตอนแรก ๆ เราคลิ๊กแล้วให้เหยื่อแก่สุนัขเมื่อสุนัขแสดงท่าทางที่คุณต้องการ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการเน้นในข้อปลีกย่อยจนกว่าจะบรรลุท่าทางที่ต้องการ

ตัวอย่าง คุณอาจคลิ๊กและให้เหยื่อทุกครั้งที่สุนัขคุณหันไปทางซ้ายมือ สุนัขก็จะหันไปทางซ้ายบ่อยขึ้น จากนั้นคุณอาจคลิ๊กเมื่อสุนัขหันมากขึ้น ๆ เป็นลำดับ จนกระทั้งสุนัขหันคบรอบวงกลม คุณถึงจะคลิ๊กและให้เหยื่อ จากนั้นให้สุนัขหันเป้นสองรอบ แล้วคล๊กและให้เหยื่อ จากนั้นคลิ๊กเฉพาะเวลาที่สุนัขหันเร็วขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่งสุนัขหมุนตัวได้เร็ว

ขั้นตอนที่ 3: ตั้งชื่อท่าทาง Add a cue word

เมื่อเห็นสุนัขกำลังจะทำท่าทางใด ๆ หรือคาดว่าสุนัขกำลังจะทำอะไร ให้เรียกกริยาท่าทางนั้น

ตัวอย่าง หากสุนัขกำลังจะนั่ง ให้ออกเสียง “นั่ง” และเมื่อสุนัขนั่งลงอย่างสมบูรณ์ให้กดคลิ๊กเกอร์ ทำเช่นนี้ทุกครั้ง

แนะนำ: สุนัขไม่รู้ว่าคำสั่งนั้น ๆ คืออะไร แต่สุนัขจะเรียนรู้ว่าเมื่อใดที่มันกระทำท่าทางนี้เมื่อมันได้ยินคำสั่ง มันจะได้รับเหยื่อ หรือรางวัล

คำเตือน: หากคุณติดนิสัยในการใช้คำสั่งซ้ำ ๆ กัน เช่น นั่ง นั่ง นั่ง สุนัขจะรอให้คุณออกคำสั่งสามครั้งมันถึงจะตอบสนองคำสั่งนั้น

ขั้นตอนที่ 4:  ทดสอบคำสั่ง Test the Cue

พยายามออกคำสั่งทุก ๆ ครั้งที่สุนัขแสดงท่าทางนั้น กดคลิ๊กเกอร์และให้เหยื่อที่สุนัขชอบ

แนะนำ: ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบท่าทางที่สุนัขคุณแสดงอย่างไรก็ตาม กดคลิ๊กเกอร์เพียงครั้งเดียวและให้เหยื่อรางวัล (อาจให้มากกว่าปรกติ)

หากสุนัขไม่ตอบสนองต่อคำสั่งเมื่อคุณสั่ง คุณอาจจะก้าวเร็วเกินไป ให้กลับไปเริ่มในขั้นตอนที่ 2 ใหม่อีกสักระยะหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 5: เพิกเฉยต่อพฏติกรรมที่ไม่ได้สั่ง Ignor Un-Cued Behaviors

เมื่อสุนัขกระทำในสิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้ทำ หยุดกดคลิ๊กเกอร์และหยุดให้เหยื่อ ให้เพิกเฉยต่อกริยาท่าทางที่เราไม่ได้สั่ง แต่ให้กดคลิ๊กเกอร์และให้เหยื่อทุกครั้งที่สุนัขปฏิบัติตามคำสั่ง

หมายเหตุ 1: คุณอาจจะเห็นสุนัขกระทำกริยาที่เราไม่ได้ออกคำสั่งบ่อยครั้งเมื่อเราหยุดกดคลิ๊กเกอร์และหยุดให้เหยื่อ เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปรกติ เรียกว่า extinction burst (คุณอาจจะทำแบบนี้เช่นกันเมื่อปุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน แทนที่คุณจะเลือกทำอะไรอย่างอื่น แต่คุณกลับทำการกดปุ่ม ซ้ำ ๆ เรื่อยไป จนกว่าคุณจะเลิกทำ)

หมายเหตุ 2: จับทิศทางเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ เช่น การเห่า หรือกระโดดเข้าหา แต่ให้พร้อมที่เผชิญกับ extincting burst (ดูหมายเหตุ 1) การที่จะควบคุมให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นโดยการกำหนดคำสั่งและให้รางวัลแก่สุนัขเป็นครั้งคราว เช่นการฝึกให้เห่า หรือกระโดดแก่สุนัข

ขั้นตอนที่ 6: เริ่มเปลี่ยนการให้รางวัล Become a Variable Reward Giver

เริ่มให้สุนัขปฏิบัติตามคำสั่ง 2 – 3 ครั้ง จึงจะกดคลิ๊กเกอร์และให้รางวัลแก่สุนัข

แนะนำ: ให้ใช้คำชมเชยแทนการกดคลิ๊กเกอร์และให้เหยื่อ เช่น “ดีมาก” ทุกครั้ง เพื่อให้สุนัขได้รู้ว่ามันได้ทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า การทำให้พฤติกรรมเข้าสู่การเสริมสร้างที่เปลียนแปลง สุนัขไม่ทราบว่าเมื่อใดจะได้รับรางวัลใหญ่ เช่นเดียวกับคนเมื่อเล่นสล๊อต หรือซื้อล๊อตเตอร์รี่

ข้อสำคัญ: เมื่อเราเริ่มการให้รางวัลน้อยครั้งลง เราจะเลือกให้รางวัลเฉพาะท่าทางที่สุนัขทำได้ดีที่สุด เช่นนั่งตรงตามแหน่ง หรือยกเท้าได้สูงสุด ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สมบูรณ์แบบ บางคนชื่นชอบที่จะให้สุนัขแสดงพฤติกรรมที่สมบูรณ์แบบก่อนที่จะตั้งชื้อคำสั่ง Cue

ขั้นตอนที่ 7: ทำให้เป็นนิสัย Generalize It

 สอนสุนัขให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ในทุกสถานที่แล้ว โดยย้ายไปฝึกในที่ต่าง ๆ ในบ้าน ออกไปฝึกนอกบ้านด้วยการใส่สายจูง และนอกสายจูง ทดสอบในรถ ในสวนสาธารณะ และในคลีนิกรักษาสัตว์

แนะนำ: อาจจะต้องกลับไปทบทวนขั้นตอนก่อน ๆ แม้กระทั่งถึงขั้นตอนที่ 2 หากมีสิ่งรบกวนสูง

แนะนำ: อาจำเป็นต้องให้รางวัลมากกว่าเดิม jackpot สำหรับความสำเร็จในแต่ละครั้ง

 จำเป็นต้องทำให้สุนัขปฏิบัติตามคำสั่งจนเป็นนิสัย และสุนัขจะได้เรียนรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

 

มาถึงตรงนี้แสดงว่าคุณทำได้แล้ว

สุนัขของคุณได้เรียนรู้คำสั่งใหม่ ๆ

และคุณได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้การฝึกสุนัขแนวใหม่ด้วย “คลิ๊กเกอร์”